วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

การทำกำไรจากแนวรับแนวต้าน ตอนที่ 1

หลังจากทำความรู้จักกับแผนภูมิทางเทคนิกแบบต่างๆ มาแล้ววันนี้เรามาทำความรู้จักกับ แนวรับแนวต้านกันบ้างว่ามีความสำคัญอย่างไร
แนวรับคือ (Support) แนวที่รับไว้ไม่ให้ราคานั่นดิ่งลงไปต่อ(เรียกอีกอย่างว่า แนวหนุน) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีการสู้รบปรบมือกันก่อนระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย หากแรงซี้อ มีมากกว่าแรงเทขาย จะส่งผลให้ราคาก็จะดีดกลับขึ้นไป แต่ถ้าหากแรงเทขายมีปริมาณที่เยอะกว่า ก็จะส่งผลให้ราคาร่วงต่อไปอีก
แนวต้านคือ (Resistance) แนวที่ต้านไว้ไม่ให้ราคาวิ่งขึ้นไปต่อ(หรือเรียกอีกอย่างว่า แนวทุบ) ซึ่งก็เช่นเดียวกับแนวรับ แต่อยู่คนละด้าน โดยจะต้องมีการสู้รบปรบมือกันระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย ถ้าหากแรงซื้อมีมากกว่า ราคาก็จะวิ่งขึ้นไปต่อได้อีก แต่หากแรงซื้อมีน้อยกว่าจะส่งผลให้ราคาวกกลับลงไป

การใช้ประโยชน์จากแนวรับแนวต้าน

ทั้งแนวรับและแนวต้านนี้มักจะเป็นจุดทำกำไรได้ดี ซึ่งทำให้เราสามารถหาจุดซื้อ/ขายได้
แนวรับเป็นแนวที่น่าซื้อ แต่ไม่ใช่จุดซื้อ จุดซื้อที่ดีที่สุดคืออยู่เหนือแนวต้าน ให้ซื้อเมื่อวิเคราะห์แล้วว่าแนวต้านๆ ไว้ไม่อยู่เพราะแรงซื้อมีมากกว่าแรงขาย
แนวต้านเป็นแนวที่น่าขาย แต่ไม่ใช่จุดขาย จุดขายที่ดีที่สุด จะอยู่ไต้แนวรับ โดยขายเมื่อคิดว่าแนวรับรับไว้ไม่อยู่ ซึ่งเมื่อแรงซื้อหมดราคาก็จะร่วงลงโดยปริยาย
แนวรับและแนวต้านมักจะเป็นจุดทำกำไรระยะสั้นได้ดี เพราะเมื่อระดับราคาเมื่อเคลื่อนที่เข้าไกล้เส้นแนวรับและแนวต้านทีไรมักจะมีการดีดตัวทุกครั้งไป ซึ่งการดีดตัวของแต่ละแนวนั้น ขึ้นอยู่กับว่าแนวรับแนวต้านนั้น แข็งเพียงใด ซึ่งทั้งสองแนวนี้หากเราเข้าไม่ถูกจังหวะหรือผิดทาง ก็อาจจะกลายเป็นแนวลากไปโดยปริยายเพราะหากเราตั้งซื้อ/ขายรอบริเวณนี้แล้วเกิดผิดทางขึ้นมาเราจะโดนลากไปไกลเลยทีเดียว

การหาแนวรับและแนวต้าน
หลังจากทำความเข้าใจแบบมั่วๆ กันไปบ้างแล้ว ว่าแนวรับคืออะไรแนวต้านคืออะไร หลายๆ คนคงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตรงไหนเป็นแนวรับตรงไหนเป็นแนวต้าน

การหาแนวรับแนวต้านแบบที่ 1

"ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน"
เมื่อมีราคามีการทะลุแนวต้าน แนวต้านนั้น จะกลายเป็นแนวรับ และ ในทางกลับกัน ถ้าราคาทะลุแนวรับ แนวรับนั้น ก็จะกลายเป็นแนวต้าน หลายๆ คนอาจงงว่ามันคืออะไร งั้นจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ คือ ใช้แนวรับเดิม ก่อนที่ราคาจะทะลุลงไป นำมาเป็นแนวต้านใหม่ เพราะจุดนี้นับเป็นจุดที่นักลงทุนให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ หรืออาจกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการซื้อเกิดขึ้น เมื่อราคามาถึงระดับนี้

กาหาแนวรับแนวต้านแบบที่ 2

Low เดิม High เดิม
ทั้งสองจุดนี้จะคล้ายๆ กับการหาแนวรับแนวต้านแบบที่ 1 แต่จะใช้ จุดที่ทำให้ระดับราคาไม่สามารถไปต่อได้นำมาเป็นแนวรับแนวต้าน โดย Low เดิม จะใช้เป็นแนวรับ และ High จะใช้เป็นแนวต้าน ตัวอย่างมื่อระดับราคามาถึงจุดๆ นี้ แล้วไม่สามารถไปต่อได้ (ไม่ว่าจะด้วยอะไรก้ตาม) แล้วราคาวกกลับแบบมีนัยสำคัญ นั่นแสดงว่าในอดีดที่ผ่านมานักลงทุนให้ความสำคัญกำระดับราคาตรงจุดนั้นๆ เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ยังมีการหาแนวรับแบบอื่นๆ อีก เช่นการใช้ฟิโบนักชี่ เส้นเทรนไลน์ และ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งจะกล่าวในบทต่อๆ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น